กราฟแท่งเทียนคืออะไร คืออะไร
September 25, 2018
Bull Market , Bear Market คืออะไร
September 28, 2018

Take Profit (TP) คืออ

Take Profit (TP) คืออะไร
คำสำคัญคำต่อมาคือคำว่า Take Profit (TP) คำนี้ถือเป็นคำที่นักเทรด ชอบมากๆ เพราะถ้ากราฟของใครวิ่งมาถึงตรงจุดนี้นั้นหมายความว่าคุณสามารถทำเงินได้มากมายจากการทำ Take Profit (TP) ดังนั้นเรามาเจาะลึกไปพร้อมๆกันว่า Take Profit (TP) คืออะไร และเราสามารถใช้ประโยชน์จากการตั้งค่า Take Profit (TP) ได้อย่างไรบ้าง
Take Profit (TP) คืออะไร
คำว่า Take Profit (TP) หมายถึงการตั้งจุดของการทำกำไรบนเส้นกราฟ โดยปกติมักกำหนดขึ้นมาจากจำนวน pips หรืออาจคิดแบบเป็น % ของจำนวนเงินทุนที่คุณมีก็ได้ครับ เลือกเอาว่าจะใช้ค่าตัวเลขแบบไหน ซึ่งเมื่อกราฟวิ่งมาถึงจุด Take Profit (TP) ก็จะทำการปิดออเดอร์ และให้เราได้รับผลกำไรทันที

การใช้ Take Profit (TP)
วิธีการใช้ Take Profit (TP) ให้เกิดประสิทธิผลมากที่สุด คุณอาจนำเอาแนวคิดด้านล่างนี้ไปประยุกต์ใช้ก็ได้ครับ หลักการมีดังนี้คือ
1.กำหนดเป็น % สำหรับการทำกำไร
โดยปกติแล้ว นักเทรด มืออาชีพมักจะกำหนดกำไรอยู่ที่ประมาณ 3-10% ต่อการเทรด 1 ครั้งเท่านั้น ซึ่งถือเป็นจำนวนเงินที่ปลอดภัยมากที่สุด และมีโอกาสน้อยที่สุดที่คุณจะขาดทุน
2.อย่าเปลี่ยนจุด Take Profit (TP) ถ้าคุณยังไม่แน่ใจ
หากคุณเริ่มทำกำไรจนกราฟวิ่งเข้ามาใกล้จุดที่คุณกำลังจะทำการ Take Profit (TP) แต่เริ่มมีความคิดในใจว่า อยากจะเลื่อนจุดTake Profit (TP) ให้ออกไปอีกสักหน่อย ผมว่าแม้ว่าเป็นความคิดที่ดี แต่ผิดสูตรมากๆ ผมอยากให้คุณทำแบบนั้นคือเลื่อน Take Profit (TP) ต่อเมื่อเป็นการเทรดในช่วงที่มีข่าว นอกเหนือจากนี้ห้ามเลื่อนเด็ดขาด อันตรายมากๆที่คุณจะเสียเงิน

ประโยชน์ของการใช้ Take Profit (TP)
1.ไม่ต้องนั่งเฝ้ากราฟ
สิ่งที่ผมชอบที่สุดของการตั้งจุด Take Profit (TP) คือคุณไม่จำเป็นต้องใช้เวลาทั้งวัน เพื่อการนั่งเฝ้ากราฟ เพราะเพียงแค่คุณตั้งจุดTake Profit (TP) และกราฟวิ่งมาจนกระทั่งถึงจุดที่เราต้องการแล้ว ระบบก็จะทำเงินทันทีโดยที่เราไม่ต้องทำอะไรเลย
2.ทำกำไรได้อย่างแน่นอน
คำนี้หมายความว่า เมื่อกราฟวิ่งมาจนถึงจุดที่เราต้องการ มันก็ทำกำไรทันที โดยที่เราไม่ต้องไปกังวลหรือไปพะวงว่า มันจะมีการแกว่งตัวของกราฟที่ทำให้เรานั้นขาดทุนหรือไม่
ดังนั้นเราจะเห็นว่าการตั้งค่า Take Profit (TP) กับการเทรดถือว่ามีประโยชน์อย่างมาก ดังนั้นเราจึงไม่ควรที่จะทิ้งวิธีการใช้ Take Profit (TP) ไปนะครับ

Comments are closed.